


วันนี้ (วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560) นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และคณะผู้บริหาร กรมราชทัณฑ์ เดินทางเข้าร่วมการประชุมหารือ การจัดโครงการ "ประชาร่วมรัฐ พัฒนาผู้ต้องขังสู่ภาคอุตสาหกรรม " กับนายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารสถานประกอบการภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ และเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะแสดงศักยภาพ นำไปสู่การสร้างอาชีพสุจริต หลังการพ้นสภาพผู้ต้องขัง พร้อมสร้างคนดีกลับคืนสู่สังคม ณ ห้องประชุมทรงบาดาล นิคมอุตสาหกรรมอมตะ จังหวัดชลบุรี
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า การประชุมพบปะผู้ประกอบการ ร่วมกับ คณะผู้บริหารบริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อการความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประชาสัมพันธ์ภารกิจการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งการจะประสบผลสำเร็จได้ต้องนำหลักประชารัฐ อันประกอบไปด้วย ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขผู้กระทำผิดเพื่อคืนคนดีสู่สังคมอย่างแท้จริง กระทรวงยุติธรรม เป็นส่วนราชการขนาดใหญ่มีบทบาทภารกิจหลายประการและหลากมิติ แต่ทั้งนี้ก็เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการอำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นภายในสังคมซึ่งภารกิจที่สำคัญประการหนึ่ง คือการควบคุมและการพัฒนาพฤตินิสัย ผู้ต้องขังเพื่อคืนคนดีสู่สังคมโดยภารกิจนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมี เรือนจำ ทัณฑสถาน จำนวน 143 แห่ง มีผู้ต้องขังในความรับผิดชอบประมาณ 280,000 คน
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาของรัฐบาลปัจจุบัน กระทรวงยุติธรรมได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนกรมราชทัณฑ์ ด้วยนโยบาย "5 เก้าย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์" ได้แก่การควบคุมปราบปรามยาเสพติด โทรศัพท์มือถือ และสิ่งของต้องห้ามเข้าเรือนจำ การจัดระเบียบเรือนจำ การฝึกวินัยผู้ต้องขัง การพัฒนาจิตใจด้วยหลักสูตรลัคคสาสมาธิ และการสร้างความยอมรับต่อสังคม ปัจจุบันได้ดำเนินการมาถึง"ก้าวย่างที่ 5 การสร้างการยอมรับของผู้พ้นโทษต่อสังคม"แล้วโดยได้ดำเนินการผลักดันและแสวงหาโอกาสให้ผู้ต้องขังได้แสดงศักยภาพด้านต่างๆที่ได้รับการพัฒนาระหว่างต้องโทษ อาทิ การปรับทัศนคติของการเป็นพลเมืองดีการได้รับการศึกษารวมถึงการได้รับการฝึกทักษะการทำงานและฝึกวิชาชีพในด้านต่างๆรวมทั้งงานบริการโดยเฉพาะในรูปแบบการส่งผู้ต้องขังออกไปทำงานภายนอกเรือนจำในลักษณะต่างๆหรือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงประสิทธิผลเป็นอย่างดีว่าผู้ต้องขังมีความพร้อมออกไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ขอเพียงแค่สังคมมีความเชื่อมั่นในกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยของกรมราชทัณฑ์
ทั้งนี้ ในปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีความร่วมมือกับบริษัทอมตะคอร์ปอเรชั่นโดยได้ส่งผู้ต้องขังจากเรือนจำกลางชลบุรี และเรือนจำกลางสมุทรปราการออกไปทำงานสาธารณะประโยชน์ในพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จำนวน 55 คน ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 และเพื่อเป็นการยกระดับการพัฒนาพฤตินัยใสผู้ต้องขังอย่างเป็นรูปธรรมกรมราชทัณฑ์จึงได้ดำเนินโครงการประชาร่วมรักพัฒนาผู้ต้องขังสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยส่งผู้ต้องขังออกไปทำงานฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดีมีความตั้งใจมีความรู้และทักษะได้ทำงานฝึกวิชาชีพในสถานที่จริงซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย โดยทางสถานประกอบการจะได้แรงงานที่มีประสิทธิภาพทดแทนแรงงานที่ขาดแคนในด้านผู้ต้องขังก็สามารถนำทักษะต่างๆที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้เพิ่มโอกาสในการจ้างงานภายหลังพ้นโทษและเป็นการสร้างการยอมรับในตัวผู้กระทำผิดในมุมของสังคมในขณะนี้มีเรือนจำได้ดำเนินการไปแล้ว 20 แห่งมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 22 แห่ง มีจำนวนผู้ต้องขัง ทั้งสิ้น 245 คน
ด้านนายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โดยที่ผ่านมา นิคมอุตสาหกรรมอมตะ โดยบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ได้นำร่องรับผู้ต้องขังชั้นดีที่ใกล้พ้นโทษเข้ามาทำงานในฐานะผู้พัฒนาดูแลพื้นที่สีเขียว และความสะอาดภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะแล้วเป็นระยะเวลา 13 ปี รวมจำนวนกว่า 1,000 คน
*******************************
นายคมศักดิ์ หล่อเถิน/ข่าว/ภาพ
23 กุมภาพันธ์ 2560